โครงการหลวง
จากการเสด็จแปรพระราชฐานยังพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรในภาคเหนือทุกปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชาวเขาหลายหมู่บ้าน บริเวณดอยปุย เมื่อกว่า ๒๐
ปีมานี้
ทรงทราบว่าชาวเขาส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้นมีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย
มีการปลูกฝิ่นและตัดไม้ทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร
และนำความเสียหายไปสู่ส่วนอื่นของประเทศอีกด้วย
ก่อนที่จะจัดตั้งโครงการหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรตามหมู่บ้านชาวเขาบริเวณดอยปุย
ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น
และทรงทราบว่าชาวเขาส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้นมีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย
มีการปลูกฝิ่นและตัดไม้ทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร
และนำความเสียหายไปสู่ส่วนอื่นของประเทศอีกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑
จึงได้ทรงสนับสนุนงานวิจัยไม้ผลเมืองหนาว
โดยได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒ แสนบาท
สนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่
(ปัจจุบันเรียกว่า สวนสองแสน) พร้อมทั้งทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
ให้คณะทูตานุทูตพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
อันเป็นผลให้หลายประเทศให้ความสนใจช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
และได้จัดส่งพันธุ์ไม้นานาชนิดมาให้ทดลองปลูก
โครงการหลวงจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๒
วัตถุประสงค์และประโยชน์ในการก่อตั้งโครงการหลวงจะเห็นได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังที่ว่า
โครงการฝนหลวง
ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง
"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ
เคยอ่านหนังสือทำได้..."
โครงการพระราชดำริฝนหลวง
เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ
ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร
ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม
อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร
และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ จากพระราชกรณียกิจ
ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้
ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่
และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร
และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า
ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ
ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี
ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน
ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า
แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้
เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน
ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์
ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า
ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ
และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน
และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย
โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน
และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ
ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน
ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498
เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา
และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน
และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์
เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้
การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว
และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ
ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม
2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก
และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก
โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide)
ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต
ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ
ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน
เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่
ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา
ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง
แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน
และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า
เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด
นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า
การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
โครงการเพื่อการศึกษา
ทุนภูมิพล
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕
เพื่อสนับสนุนการศึกษาของชาติเริ่มดำเนินงานเป็นกองทุนจากรายได้ในการจัด
ฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ แห่งละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
เก็บดอกผลเป็นทุนการศึกษาของนิสิตนักศึกษา ต่อมาได้ขยาย
ไปยังมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตราบถึง
พ.ศ.๒๕๒๙ มีผู้ได้รับ ทุนและรางวัลประมาณ ๑,๑๓๗ คน เป็นเงิน ๓,๗๘๙,๓๘๐ บาท
ทุนเล่าเรียนหลวง
เริ่มวางระเบียบเป็นหลักฐานเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ ในสมัยรัชการที่ ๕
เพื่อให้คนไทยนำความรู้สมัยใหม่จาก ต่างประเทศมาพัฒนาประเทศ
ทุนนี้ได้ยุติลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นขึ้นใหม่ในพ.ศ.๒๕๐๘
มีผู้รับทุนถึง พ.ศ.๒๕๒๙ จำนวน ๙๗ คน เป็นเงิน ๕๒,๔๐๒,๙๓๕.๔๓ บาท
โรงเรียนร่มเกล้า
โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ ณ บ้านหนองแคน อำเภอนาแก
จังหวัดนครพนม เป็น โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชนบทห่างไกล
บริเวณชายแดน และในเขตพื้นที่อันตราย
เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชนบทได้มีที่เรียนและสามารถ
เรียนต่อระดับมัธยมศึกษาในท้องถิ่นของตน
เป็นการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส ในชนบทห่างไกล
โรงเรียนจิตรลดา
เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘
เพื่อใช้เป็นที่ทรงศึกษาของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาและพระ
สหาย ดำเนินงานสร้างเป็นโรงเรียนเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐
และจดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑ เปิดรับนักเรียนทั่วไป
จำนวนที่ศึกษาสำเร็จไปแล้วถึง พ.ศ.๒๕๒๘ จำนวน ๖๔๐ คน
มูลนิธิอานันทมหิดล
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘
เพื่อให้โอกาสนักศึกษาที่มีความสามารถยอดเยี่ยมไปศึกษาวิชาชั้นสูงในต่าง
ประเทศ
แต่เดิมให้ทุนเฉพาะนักศึกษาแผนกวิชาแพทยศาสตร์ต่อมาขยายให้แก่นักศึกษาแผนก
วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสาสตร์ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตรและอักษรศาสตร์
มูลนิธิได้จ่ายเงินเพื่อ การนี้ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๒๙ เป็นเงิน
๘๔,๕๔๙,๗๓๙.๐๑บาท มีผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๒๙
รวม ๑๐๕ คน
โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์
เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙
เพื่อสอนหนังสือให้แก่เด็กชาวเขาและประชาชนที่ห่างไกลคมนาคม เพื่อขจัดความ
ไม่รู้หนังสือ และเป็นการผูกมิตรเข้าถึงประชาชน ภายหลังมอบใหกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่
รับผิดชอบในด้านการจัดดำเนินการ
มูลนิธิช่วยครูอาวุโสในพระบรมราชูปถัมภ์
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙
เพื่อช่วยครูที่เกษียณอายุราชการมีประวัติการทำงานและความประพฤติเป็นแบบ
อย่างที่ดี มูลนิธิจะมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรต
และให้เงินช่วยเหลือในรายที่จำเป็น ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๐- ๒๕๒๘
มีครูที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ๙๘๕ รายเป็นเงิน ๖,๐๖๐,๐๐๐ บาท
โรงเรียนราชประชาสมาสัย
เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕
เพื่อให้บุตรผู้ป่วยโรคเรื้อนที่แยกเลี้ยงจากพ่อแม่แต่แรกเกิดที่มีศึกษาระดับอนุบาล
และประถมศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิราชประชาสมาสัย
ของกระทรวงสาธารณสุข ต่อมา แยกมาตั้งเป็นมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ จัดการเป็นโรง เรียนราษฎร์ซึ่งมีทั้งฝ่ายประถมและมัธยม
นับถึง พ.ศ.๒๕๒๘ โรงเรียนได้เงินช่วยเหลือในด้านต่างๆรวม ๔๑,๐๑๓,๒๓๖.๖๐
บาทมีบุตรผู้ป่วยที่ได้รับความช่วยเหลือและพ่อแม่รับกลับไปแล้ว ๒๐๒ คน
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบวาตะภัยภาคใต้
ต่อมาขยายให้ความช่วยเหลือด้านการ ศึกษาแก่เด็กกำพร้า จากครอบครัวประสบวาตภัยภาคใต้
และประชาชนที่ประสบสาธารณภัยต่างๆ ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๒๙
มีผู้ได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆรวม ๔,๕๖๓,๒๔๐ คน เป็นเงิน
๕๑,๖๗๖,๒๐๒.๗๖ บาท และมีผู้ได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาถึงเดือนกรกฎาคม ๒๕๒๙
จำนวน ๙๙ ทุน เป็นเงินทั้งสิ้น ๘๕๔,๐๘๐ บาท
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ เพื่อจัดทำหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
ให้ประชาชนได้ค้นคว้าหา
ความรู้ด้วยตนเองในยามที่มีปัญหาขาดแคลนครูและที่เล่าเรียน นับถึง พ.ศ.๒๕๓๑
ได้จัดทำทั้งฉบับ ราชประทานและฉบับจำหน่ายเสร็จแล้วจำนวน ๑๒ เล่ม
และได้มอบหนังสือฉบับพระราชทานให้โรง เรียนทั่วประเทศไปแล้ว ๕๐,๐๐๐ เล่ม
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า
๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
ต่อมาภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข้เพื่อให้รอดพันวิกฤตการณ์ และ
สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่นยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ
ประชาชนทุกระดับ ตั่งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้
ก้าวทันโลกยุตโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียงหมายถึง ความประมาณ ความมีเหตุ
รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรแก่การมีผลกระทบใดๆ
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้
ความรอบคอบ
และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
ขณะเดียวกัน ก็จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในประเทศ
โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และ นักธุรกิจทุกระดับ
ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และมีความรอบคอบ
เพื่อให้สมดุลและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้วกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ
สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้อย่างดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง
"เศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540
ซึ่งได้มีการขานรับนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน
แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น
แต่แท้ที่จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ
และพนักงานบริษัทต่างๆ
สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้
ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้
ทรงได้มีมหากรุณาธิคุณอธิบายเพิ่มเติมว่า
". . . ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น
ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ.
. ."
จากนั้น ได้ทรงขยายความ คำว่า "พอเพียง" เพิ่มเติมต่อไปว่า หมายถึง
"พอมีพอกิน"
". . . พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง
ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี. . ."
". . . ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน มาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน
จึงจะต้องเป็นนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้
พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้
แต่ว่าพอ. . ." ทรงเปรียบเทียบคำว่า พอเพียง กับคำว่า Self-Sufficiency
ว่า
. . Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้
ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง. . .
เป็นไปตามที่เค้าเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง. . . . . คนส่วนมากมักเข้าใจว่า
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของ เกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริง
ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ
สามารถนำแนว พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ได้ . . .
แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ
ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอใจในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย
เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนผู้อื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้
มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก
คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้ อาจจะมี มีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้
แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง
ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติงานก็พอเพียง. . ." ฉะนั้น
ความพอเพียงนี้ก็แปลว่าความพอประมาณและความมีเหตุผล
โครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มด้วยระบบน้ำชลประทาน
pics
งานพัฒนาลำห้วยบ่อแดง ลำห้วยซาง จ.สกลนคร
สถานที่ดำเนินการ บ้านจาร หมู่ที่ 5 ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
พระราชดำริ
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 นางประเพ็ญ ปลัดกอง กำนันตำบลม่วง
นายศูนย์ทอง สมใจ กำนันตำบลหนองกวั่ง และนายจำปา สุวรรณไตร
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงได้ร่วมกันกราบบังคมทูลถวายรายงานเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มในเขตจังหวัดสกลนคร
และขอพระราชทานพระมหากรุณา ขอสร้างฝายกั้นน้ำห้วยบ่อแดง
เนื่องจากในฤดูฝนน้ำในลำห้วยบ่อแดงและห้วยซางไหลเร็วทำให้มีน้ำไม่เพียงพอทำการเกษตรในฤดูแล้ง
ดังนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
จึงมีพระราชดำริให้จัดหาแหล่งน้ำในลำห้วยบ่อแดง ตามความเหมาะสม
เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
-
เพื่อใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเสริมการเพาะปลูกในฤดูฝนและการปลูกพืชในฤดูแล้ง
ตลอดจนการอุปโภค-บริโภค ของราษฎร รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์
-
เป็นการพัฒนาลุ่มน้ำ
เพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็มให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้เต็มศักยภาพ
โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์
โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2510 เพื่อตรวจรักษาราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร
โดยไม่คิดมูลค่า และถ้าจำเป็นก็จัดส่งไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม และในท้องถิ่น
ต่าง ๆ ที่ห่างไกลตัวเมืองมาก
โครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อส่งทันตแพทย์อาสาสมัครออกช่วยเหลือ
บำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันแก่เด็ก
นักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องที่ทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า ได้รับความ
ร่วมมือจากทันตแพทย์โรงพยาบาลต่างๆ ในการออกปฏิบัติการภาคสนาม
แพทย์พระราชทาน (แพทย์ประจำพระองค์)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ประจำพระองค์ที่ตามเสด็จฯ ตรวจและรักษาคนไข้
ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 เมื่อเสด็จ
พระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการชาวเขา และทรงพบว่าราษฎรที่มา
รอรับเสด็จป่วยเป็นไข้กันมาก
หน่วยแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2517 เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของราษฎรที่นิคม
สร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส นิคมนี้มีสถานีอนามัย
เพียงแห่งเดียว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดแพทย์
หมุนเวียนเข้าไปบริการตรวจรักษา แพทย์และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล นราธิวาส
และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ออกไปปฏิบัติการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นประจำ
โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัย
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 หลังจากที่เปิดโครงการแพทย์พิเศษตามพระราช
ประสงค์ใน พ.ศ. 2517 แพทย์ที่อาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสและมีประสบการณ์
มาก
เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีศัลยแพทย์อาสาไปช่วยปฏิบัติงาน ณ
โรงพยาบาลประจำจังหวัดสกลนคร ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ
แปรพระราชฐาน ประทับที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูล
และความต้องการของโรงพยาบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ในด้านศัลยกรรม และ
รวบรวมจัดทำทำเนียบศัลยแพทย์อาสา แล้วก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์ขึ้น ภายหลัง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับวิทยาลัยศัลยแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์และ
เปลี่ยนชื่อเป็น ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
โครงการแพทย์หู คอ จมูก
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยอาศัยแพทย์หู คอ จมูกอาสาสมัครจาก
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี
โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครราชสีมา และโรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม
ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติราชการชุดละ 2 สัปดาห์ เริ่มที่จังหวัดนราธิวาสก่อน
ต่อมาขยายการปฏิบัติงานไปที่จังหวัดสกนนคร และที่โรงพยาบาลค่ายกาวิละ
จังหวัดเชียงใหม่
โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่
เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2524 เพื่อรักษาพยาบาลราษฎรยากจนที่เจ็บป่วย
และไม่สะดวกที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลได้ โดยติดต่อแพทย์
จากโรงพยาบาลส่วนกลาง และรับแพทย์อาสาสมัครมาปฏิบัติงานที่ค่ายกาวิละ
ในระหว่างที่ทรงแปรพระราชฐานประทับแรมอยู่ที่ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ มี
โครงการตามพระราชดำริ 2 โครงการ คือ คณะแพทย์พระราชทาน การอบรม หมอหมู่บ้าน
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ เป็นโครง
การที่เริ่มทำการศึกษาและวางโครงการขึ้นตามแนวพระราชดำริในพระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้น จึงพิจารณาดำเนินการก่อสร้างให้
สอดคล้องเพิ่มเติมนอกเหนือจากแผนงานพัฒนาหลักของแต่ละหน่วยราชการที่กำหนดไว้ตามความเหมาะสม
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรฯ เป็นงานส่วนใหญ่ของ
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามพระราชดำริ โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงาน
หลักทำการก่อสร้างสนองพระราชดำริ มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการช่วยเหลือ
แก้ไขปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนจนสามารถสนองความต้องการขั้นพื้น
ฐานของราษฎร ในการจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในท้องที่ซึ่งขาด
แคลนน้ำให้มีน้ำใช้ทำการเพาะปลูกพืช สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนจัด
หาน้ำให้กับราษฎรในเขตโครงการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอีกด้วย
มูลนิธิชัยพัฒนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้จัดตั้ง
"มูลนิธิชัยพัฒนา"เพื่อสนับสนุน การช่วยเหลือประชาชน
ในรูปของการดำเนินการพัฒนาในด้านต่างๆ
ในกรณีที่การดำเนินงานนั้นๆถูกจำกัดด้วย
เงื่อนไขดังที่ได้กล่าวไว้แล้วหรือดำเนินงาน ในลักษณะอื่นใด
ที่จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
รวดเร็วและไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเงื่อนไขของเวลา
กระทรวงมหาดไทย
โดยกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาให้เป็นนิติบุคคล
ตามเลขทะเบียนลำดับที่๓๙๗๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๑
และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่๑๐๕ ตอนที่ ๑๐๙ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม
๒๕๓๑
วัตถุประสงค์
-
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรและโครงการพัฒนาอื่น
ๆ
-
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสงเคราะห์และ
ช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ
และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและให้สามารถช่วย
ตัวเองและพึ่งตนเองได้
-
ดำเนินการใดๆอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม
-
ร่วมมือกับส่วนราชการและ องค์กรการกุศล อื่นๆ
เพื่อสาธารณประโยชน์หรือดำเนินการเพื่อเน้นในการสนับสนุนสาธารณประโยชน์
-
ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง
แนวทางการดำเนินการ
การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรม เพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อน
กับแผนงาน โครงการของรัฐที่มีอยู่แล้วแต่จะพยายาม สนับสนุน ส่งเสริม และ
ประสานการดำเนินงานเพื่อให้โครงการต่างๆ
เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับสถานการณ์โดยเฉพาะ
ในกรณีที่โครงการของรัฐ ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไข ของกฏระเบียบต่างๆอันเป็นผลทำให้โครงการนั้นๆ
ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงทีเช่นในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วน
เพื่อดำเนินงานตามโครงการหนึ่งแต่รัฐมีปัญหา
ด้านงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดซื้อหรือมิได้ตั้งงบประมาณไว้ หรือ
ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆทำให้ดำเนินการจัดซื้อไม่ได้
หรือต้องตั้งงบประมาณจัดซื้อ ใน ๑-๒ ปีข้างหน้าซึ่งจะทำให้โครงการล่าช้าไป
เป็นต้นในกรณีเช่นนี้มูลนิธิชัยพัฒนา
จะได้ช่วยเหลือตามความเหมาะสมเพื่อให้โครงการนั้นๆ
ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีการดังตัวอย่างข้างต้นอาจนับได้ว่าเป็นวิวัฒนาการใหม่
ของแนวทางการพัฒนาประเทศที่มีมูลนิธิชัยพัฒนา
ในฐานะเป็นนิติบุคคลสาธารณประโยชน์ที่จะเข้ามาประสานงานร่วมมือสนับสนุน
โครงการพัฒนาของรัฐ อย่างสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
เพื่อให้โครงการที่มีปัญหานั้นๆสามารถดำเนินงานไปได้
โดยก่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และประเทศชาติ อย่างเต็มที่
|